Skip to main content

หน้าหลัก

การย้ายนายจ้าง

การย้ายนายจ้าง

       กรณีที่แรงงานต่างชาติจะขอโอนย้ายจากนายจ้างเดิมไปทำงานกับนายจ้างอื่นได้นั้น ต้องมีสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้

       1.นายจ้างค้างจ่ายค่าจ้างแรงงานต่างชาติเป็นจำนวน 2 เดือนขึ้นไป

       2.นายจ้างอยู่ในภาวะล้มละลายและประกาศปิดกิจการ

       3.นายจ้างขอยกเลิกการใช้แรงงานต่างชาติ

       4.นายจ้างพาแรงงานต่างชาติไปทำงานผิดกฎหมาย

       หากไม่เข้าหลักเกณฑ์ข้างต้น แรงงานต่างชาติไม่สามารถร้องขอย้ายไปทำงานกับนายจ้างรายใหม่ได้

       กรณีเข้าหลักเกณฑ์ขอย้ายงานได้ แรงงานต่างชาติต้องร้องขอย้ายงานต่อสำนักงานแรงงานท้องถิ่นของไต้หวัน ให้เป็นผู้พิจารณาอนุญาตและดำเนินการให้ ซึ่งในทางปฏิบัติควรขอให้นายจ้าง หรือบริษัทจัดหางานไต้หวัน ซึ่งเป็นผู้ให้บริการช่วยดำเนินการให้ หากไม่ได้รับการช่วยเหลือ ขอให้แจ้งสำนักงานแรงงานไทยเพื่อประสานและจัดการให้

 

กรณีหลบหนีนายจ้าง

       หากขาดงานต่อเนื่องกัน 3 วัน โดยไม่ติดต่อแจ้งสาเหตุให้ทราบ และนายจ้างก็ติดต่อกับคนงานต่างชาติไม่ได้ นายจ้างสามารถไปแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ว่าคนงานหลบหนี ซึ่งจะมีผลทำให้คนงานมีสถานะเป็นผู้อยู่ในไต้หวันอย่างผิดกฎหมาย และมีความผิดและต้องรับโทษตามกฎหมายคนเข้าเมืองไต้หวัน

       (1) หลบหนีไปเป็นเวลา 1 – 10 วัน ถูกปรับเป็นเงิน 1,000 เหรียญไต้หวัน

       (2) หลบหนีไปเป็นเวลา 11 – 30 วัน ถูกปรับเป็นเงิน 3,000 เหรียญไต้หวัน

       (3) หลบหนีไปเป็นเวลา 31 วันขึ้นไป ถูกปรับเป็นเงิน 5,000 เหรียญไต้หวัน

       (4) หลบหนีไปเป็นเวลา 90 วันขึ้นไป ถูกปรับเป็นเงิน 10,000 เหรียญไต้หวัน

       กรณีไม่มีเงินเสียค่าปรับ ต้องถูกจำคุกแทนค่าปรับเท่าจำนวนเงินที่ต้องถูกปรับหรือถูกทำงานชดใช้แล้วแต่กรณี

       หากหลบหนีแล้วไปทำงานกับนายจ้างรายอื่น จะมีความผิดตามกฎหมายบริการจ้างงานไต้หวันอีกด้วย และต้องรับโทษถูกปรับเงินตั้งแต่ 30,000 – 150,000 เหรียญไต้หวัน พร้อมกับถูกเนรเทศออกนอกประเทศ และไม่สามารถเดินทางกลับเข้ามาทำงานในไต้หวันได้อีก

 

การร้องทุกข์ข้อพิพาท

       เพื่อปกป้องสิทธิผลประโยชน์ของตัวเอง ท่านจะต้องเคารพปฏิบัติตามกฎระเบียบข้างต้นอย่างเคร่งครัด ในกรณีพบว่านายจ้างไม่ได้ดำเนินการให้ท่านตามที่กล่าวมา ต้องแจ้งหรือเตือนให้นายจ้างทราบ หากนายจ้างยังเพิกเฉย หรือพบว่านายจ้างมีพฤติกรรมฝ่าฝืนกฎหมาย ขอให้ท่านร้องเรียน  

       1. สำนักงานแรงงานไทยที่รับผิดชอบพื้นที่ที่โรงงานท่านตั้งอยู่  เช่น สนร.เกาสง  ดูแลพื้นที่เกาสง ไถหนาน จางฮั่ว หยุนหลิน เจียอี้ ผิงตง ไถตง และเผิงหู

       2. สายด่วนให้คำปรึกษาแรงงานข้ามชาติ 1955 เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่เสียค่าโทร แรงงานข้ามชาติ สามารถปรึกษาและขอข้อมูลด้านสิทธิแรงงาน และการใช้ชีวิต รวมทั้งบริการล่ามแปลภาษา 

       3. สำนักงานแรงงานท้องถิ่น (ศูนย์ให้คำปรึกษาแรงงานต่างชาติประจำท้องถิ่น) 

TOP