สำนักงานแรงงาน ณ กรุงมะนิลา (ส่วนที่ 2) สาขาเมืองเกาสง
สำนักงานแรงงาน ณ กรุงมะนิลา (ส่วนที่ 2) สาขาเมืองเกาสง ตั้งขึ้น เมื่อเดือนกันยายน 2537 ตามมติ ค.ร.ม. เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2537 เดิมใช้ชื่อว่า “สำนักงานแรงงาน ณ เมืองฮ่องกง (ส่วนที่ 2) สาขาเมืองเกาสง” แต่เนื่องจากปัญหาทางด้านการเมืองระหว่างประเทศของจีนแผ่นดินใหญ่และไต้หวัน จึงเปลี่ยนมาใช้ชื่อในปัจจุบัน
เหตุผลที่กระทรวงมหาดไทย ประเทศไทย (เดิม กรมแรงงาน สังกัดกระทรวงมหาดไทย) เสนอว่าควรตั้ง สำนักงานแรงงานไทยเพิ่มขึ้นที่เมืองเกาสงคือ “ปัจจุบัน (ปี 2566)” มีแรงงานไทยทำงานในไต้หวันประมาณ 67,939 คน และมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเป็น 1๐๐,๐๐๐ คน เนื่องจากความต้องการแรงงานในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐบาล ความต้องการแรงงานในกิจการอุตสาหกรรมการผลิตและความต้องการแม่บ้าน ซึ่งสถานประกอบการและโรงงานของนายจ้างส่วนใหญ่อยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของไต้หวัน แต่สำนักงานแรงงานไทยตั้งอยู่ที่กรุงไทเป ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือสุดของไต้หวัน จึงเป็นอุปสรรคต่อการให้บริการด้านการรับรองเอกสาร และการดูแลให้ความช่วยเหลือแรงงานไทย ตลอดจนการสร้างความเข้าใจที่ดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง อันเป็นเหตุให้นายจ้างไต้หวัน นำเข้าแรงงานจากเวียดนามแทนแรงงานไทย จึงขอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้จัดตั้งสำนักงานแรงงานที่เมืองเกาสง”
การกำหนดอัตรากำลังเจ้าหน้าที่และสนับสนุนเงินงบประมาณ
เมื่อมีการจัดตั้ง สำนักงานแรงงานไทยที่เมืองเกาสง ได้รับการอนุมัติอัตรากำลังเจ้าหน้าที่เดิม เป็นข้าราชการ 2 อัตรา คือ หัวหน้าสำนักงาน (ระดับ 7) และผู้ช่วย (ระดับ 6) และมีลูกจ้างท้องถิ่น 4 อัตรา คือ ล่าม เสมียน และพนักงานขับรถยนต์ โดยมีสำนักงานฯ ตั้งอยู่ที่อาคาร 50 ชั้น (Grand 50 Tower) ศูนย์การค้า World Trade Center เมืองเกาสง ชั้นที่ 14 เลขที่ 14F-4, 80 Mintzu Rd.1, Kaohsiung , Taiwan ตั้งแต่ปี 2537 จนถึงเดือนพฤษภาคม 2562
ต่อมา เมื่อปี 2540 มีการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองของจีนแผ่นดินใหญ่ คือ อังกฤษคืนเกาะฮ่องกงให้แก่จีนแผ่นดินใหญ่ เพื่อไม่ให้กระทบกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับจีนแผ่นดินใหญ่ กระทรวงแรงงานจึงได้เปลี่ยนชื่อ สำนักงานแรงงาน ณ เมืองเกาสง เป็น สำนักงานแรงงาน ณ กรุงมะนิลา (ส่วนที่ 2) สาขาเมืองเกาสง ปัจจุบันมีอัตรากำลังเป็นข้าราชการ รวม 2 อัตรา คือ ผู้อำนวยการสำนักงานฯ (ผู้อำนวยการต้น) และ รองผู้อำนวยการสำนักงานฯ (ชำนาญการ) ตั้งอยู่ที่ อาคาร UFO ชั้น 11 เลขที่ 12 , ถนน Fuxing 4th , Qianzhen District, Kaohsiung City, 806 , Taiwan ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 จนถึงปัจจุบัน
ทำเนียบผู้บริหารสำนักงานแรงงาน ณ กรุงมะนิลา (่ส่วนที่ 2) สาขาเมืองเกาสง มีข้าราชการดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักงาน ดังต่อไปนี้
อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน)
ที่ |
ชื่อ-นามสกุล |
วาระ |
13 |
นายณัฐชยวัศ สงวนไชยกฤษณ์ |
พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน |
12 |
นางสาวจุฑารัตน์ สบู่ม่วง |
พ.ศ. 2562 – 2566 |
11 |
นางสาวแก้วใจ สัจจะเวทะ |
พ.ศ. 2559 – 2562 |
10 |
นางสุชฎา โพธิเดช |
พ.ศ. 2557 – 2559 |
9 |
นางสาวขวัญตา มังกรรัตน์ |
พ.ศ. 2554 – 2557 |
8 |
นายดุสิต วงศ์นาวา |
พ.ศ. 2551 – 2554 |
7 |
นายดำรงศักดิ์ อิงศรีสวัสดิ์ |
พ.ศ. 2548 – 2551 |
6 |
นายสมชาย รัตนไทย |
พ.ศ. 2545 – 2548 |
5 |
นายอรรถพร สิงหวิชัย |
พ.ศ. 2544 – 2545 |
4 |
นายสิงหเดช ชูอำนาจ |
พ.ศ. 2542 – 2543 |
3 |
นางสุริยา พิลาศลักษณ์ |
พ.ศ. 2539 – 2542 |
2 |
นายสมโชค บุญกำเนิด |
พ.ศ. 2537 – 2539 |
1 |
นายดุสิต วงศ์นาวา |
พ.ศ. 2537 |
ที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน)
ที่ |
ชื่อ-นามสกุล |
วาระ |
10 |
นายวิเชียร ชมภูนอก |
พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน |
9 |
นางสาวชนกพรอนัน ไกรเทพ |
พ.ศ. 2563 – 2566 |
8 |
นางสาวกาญจนา เอกบุตร |
พ.ศ. 2560 – 2563 |
7 |
นางสาวกรรณิกา แก้วศรีสังข์ |
พ.ศ. 2557 – 2560 |
6 |
นางสาวพินยุดา แจ่มจันทร์ศรี |
พ.ศ. 2554 – 2557 |
5 |
นางสาวแก้วใจ สัจจะเวทะ |
พ.ศ. 2551 – 2554 |
4 |
นางดารุพัสตร์ ลิ้มประวานิช |
พ.ศ. 2548 – 2551 |
3 |
นายสุชาติ แสงอุไร |
พ.ศ. 2545 – 2548 |
2 |
นางสาวยุพเรศ วงศ์บุญมี |
พ.ศ. 2542 – 2545 |
1 |
นายวิวัฒน์ ตังหงส์ |
พ.ศ. 2538 – 2542 |
สำนักงานแรงงาน ณ กรุงมะนิลา (ส่วนที่ 2) สาขาเมืองเกาสง มีภารกิจด้านคุ้มครองแรงงานไทย และส่งเสริมการจ้างแรงงานในพื้นที่ 8 เมืองทางภาคใต้ของไต้หวัน ได้แก่ เกาสง ไถหนาน ผิงตง ไถตง เจียอี้ หยุนหลิน จางฮั่ว และเกาะเผิงหู มีแรงงานไทยประมาณ 21,951 คน (ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2568)

1973