ข้อมูล ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ ไต้หวันมีแรงงานต่างชาติ ทำงาน ประกอบด้วย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไทย มาเลเซีย และมองโกเลีย จำนวนรวมทั้งสิ้น ๓๖๕,๐๖๐ คน มีแรงงานไทยทำงานทั่วเกาะไต้หวัน จำนวน ๗๕,๕๘๔ คน
สำนักงานแรงงานเมืองเกาสง มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลแรงงานไทยในเขตภาคใต้ของเกาะไต้หวัน รวม ๘ เมือง มีแรงงานไทยจำนวน ๒๒,๘๓๖ คน กระจายอยู่ตามเมืองต่าง ๆ คือ เกาสง ๔,๘๐๘ คน ไถหนาน ๗,๓๘๗ คน จางฮั้ว ๖,๙๘๙ คน หยุนหลิน ๑,๖๙๐ คน เจียอี้ ๑,๓๑๐ คน ผิงตง ๖๕๒ คน ไถตง ๙ คน และเกาะเผิงหู ๒ คน
ปี ๒๕๕๒ ไต้หวันได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจการเงินโลกเช่นเดียวกับประเทศอ ื่น ๆ แต่โชคดีที่ไต้หวัน เป็นประเทศที่มีเงินทุนสำรองมากเป็นลำดับที่ ๔ ของโลก อาจจะมีโอกาสฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศได้
แนวโน้มความต้องการจ้างแรงงานไทยในเขตภาคใต้เกาะไต้หวันซึ่งอยู ่ในความรับผิดชอบของ สนร. เกาสง ในปี ๒๕๕๒
– โครงการของบริษัทฟอร์โมซาร์กรู๊ป ในเขตภาคใต้
๑.บริษัทฟอร์โมซาร์เทฟฟิต้า สิ่งทอ ที่เมืองหยุนหลิน ๘๕ คน
๒. บริษัทฟอร์โมซาร์เฮฟวี่อินดรัสตี้ ประกอบโครงสร้างเหล็ก ที่เมืองเกาสง ๑๒๕ คน มีทั้งแรงงานทั่วไป และแรงงานฝีมือ
๓. บริษัทฟอร์โมซาร์พลาสติคกรู๊ป เมืองม่ายเหลียว โครงการก่อสร้างขยายโรงกลั่นน้ำมันเฟสที่ 5 คาดว่าจะใช้แรงงานปีละ 800 คน
– โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐบาล จำนวน 12 โครงการ ซึ่งดำเนินการในเขตภาคใต้เกาะไต้หวัน เช่น โครงการสร้างขยายรถไฟฟ้าใต้ดินเมืองเกาสง ไถหนาน สร้างขยายรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่เมืองเจียอี้โครงการก่อสร้างท่า เรือการค้าเสรีและรักษาสิ่งแวดล้อมเมืองเกาสง โครงการก่อสร้างแหล่งผลิตภัณฑ์ใหม่ โครงการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วม เป็นต้น โครงการก่อสร้างเหล่านี้แม้ว่าจะถูกรัฐบาลไต้หวันจำกัด โควตานำเข้าแรงงานต่างชาติ แต่คนท้องถิ่นไม่นิยมทำงานนี้ จึงอาจจะมีตำแหน่งงานว่างเหลือให้กับแรงงานไทยบ้าง
– กิจการอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม ก็น่าจะเป็นกิจการที่มีตำแหน่งงานให้กับแรงงานไทยเช่นกัน
ที่มา : สนร.เกาสง